ทุกคนที่เล่นคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คต้องรู้จัก “คีย์บอร์ด” หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “แป้นพิมพ์” เราคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่เชื่อว่ายังคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่จะรู้ว่าคีย์บอร์ดที่เราพิมพ์ๆกันอยู่มี 3 ประเภท คือ คีย์บอร์ดประเภทปุ่มยาง , คีย์บอร์ดประเภทกลไก , คีย์บอร์ดประเภท , คีย์บอร์ดประเภทกึ่งกลไก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักคีย์บอร์ดประเภทกลไก Mechanical กัน

คีย์บอร์ดประเภทกลไก (Mechanical Keyboard) คือ เป็นคีย์บอร์ดที่มีโครงสร้างระบบกลไกแบบสวิตช์สปริง ซึ่งมีความทนทานกว่าคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่มยาง มีอายุในการใช้งานการกด 50 ล้านครั้ง ประสิทธิภาพในการทำงานมีความแม่นยำและตอบสนองที่ไวต่อการพิมพ์ คีย์บอร์ดแมคคานิคอลสามารถถอดเปลี่ยนปุ่มสวิตช์ Key Cap หรือปุ่มกด ทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย

กลุ่มที่จะใช้งานคีย์บอร์ดแมคคานิคอล (Mechanical Keyboard) มักจะเป็นพวกเกมเมอร์ส่วนมากเพราะฟิลลิ่งในการใช้คีย์บอร์ดจะดีกว่าปุ่มยางเป็นอย่างมาก รู้สึกเพลินมากเวลาพิมพ์ มีเสียงกดทั้งดังและเงียบในเวลาเราพิมพ์ อยู่ที่ใครจะชอบการพิมพ์ฟิลลิ่งไหน จะมีให้ผู้ใช้ให้เลือกหลายรุ่นหลายแบบ ราคาก็จะมีในระดับหลักร้อยไปถึงหลักหมื่นกันเลย

ระบบสวิตช์จะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การแบ่งประเภทจะแยกตามความสัมผัสและการตอบสนองของการพิมพ์ มีดังนี้ 

  1. แบบ Linear Switch จะมีรูปแบบการกดที่มีการตอบสนองไวจังหวะเดียว ลักษณะการกดจะมีแรงต้านทานคงที่ใช้แรงกดน้อย เสียงการกดจะเงียบกว่าแบบ tactile switch ได้แก่ Red switch กับ Black switch
  2. แบบ Tactile Switch จะมีรูปแบบการกดที่มีแรงต้านแตกต่างจากแบบ Linear switch จังหวะการกดจะมี 2 จังหวะ ในการกดจังหวะแรกจะมีแรงต้านที่น้อยกว่าจังหวะที่ 2 ส่วนด้านเสียงจะมีความดังในการกด ได้แก่ Blue Switch และ Brown Switch

แบรนด์ที่ทำการผลิตตัวสวิตช์จะมีหลากหลายแบรนด์ หลายราคาจากถูกไปแพง แบรนด์ที่คนส่วนใหญ่มีความนิยมคือแบรนด์ cherry mx switch มีทั้ง 4 สีดังนี้

  1. Blue Switch เป็นสวิตช์แบบ Tactile Switch ซึ่งมีจังหวะการกด 2 จังหวะ ใช้น้ำหนักในการกด 60 cN เป็นสวิตช์ที่มีความนิยมมากที่สุดเพราะการกดให้ความรู้สึกที่สนุกมันส์มากเวลากด เวลาเล่นเกมส์ก็ใช้งานได้ดีสนุก เสียงกดปุ่มจะมีความดังที่สุด เสียงจะดัง “คลิกๆ”
  1. Red Switch เป็นสวิตช์แบบ Linear Switch เวลากดจะมีแรงกดที่น้อยไม่ต้องใช้แรงมาก ใช้น้ำหนักการกด 45 cN เป็นสวิตช์ที่เหมาะกับการพิมพ์ที่ต้องการตอบสนองที่ไว เพราะเวลากดอาจจะเกิดการพลาดได้เพราะแต่ละคนมีแรงกดไม่เหมือนกัน
  1. Black Switch เป็นสวิตช์แบบ Linear Switch จะมีแรงต้านที่มากที่สุด ใช้น้ำหนักในการกด 60 cN จะลดการเสี่ยงในการกดพลาด เวลาพิมพ์จะมีความเหนื่อยเมื่อยมือได้
  1. Brown Switch เป็นสวิตช์แบบ Tactile Switch มีเสียงการกดปุ่มที่ดัง “คลิกๆ” แต่เสียงจะดังไม่เท่า Blue Switch ใช้น้ำหนักในการกด 55 cN เหมาะกับคนที่ชอบการกดแบบ Blue switch แต่ไม่ชอบเสียงดังเท่า Blue Switch

รูปทรงขนาดของ Keyboard  Mechanical

หลักๆแล้วคีย์บอร์ด Mechanical จะแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

1. คีย์บอร์ดแบบ Full size

1. คีย์บอร์ดแบบ Full size

คีย์บอร์ดแบบ full size เป็นคีย์บอร์ดที่เป็นลักษณะที่เราเห็นทั่วๆไป คีย์บอร์ด Mechanical และคีย์บอร์ดทั่วไปที่เราเห็นอยู่เป็นประจำนั้น จะเป็นปุ่มที่ครบ 104 ปุ่ม เป็นคีย์บอร์ดขนาดใหญ่เป็นขนาดที่เป็นมาตรฐาน เป็นไซด์ที่ทุกแบรนด์ได้ผลิตออกมาวางจำหน่ายจึงหาซื้อได้ไม่ยาก แบบ Full size จะมีฟังก์ชั่นที่มาให้ครบครัน และฟีเจอร์พิเศษที่เสริมเข้ามาเหนือปุ่มพวก Numpad  

ข้อดีแบบ full size 

ข้อเสียแบบ full size 

2. คีย์บอร์ดแบบ 80% Tenkeyless (TKL)

2. คีย์บอร์ดแบบ 80% Tenkeyless (TKL)

เป็นคีย์บอร์ดที่มีความนิยมระดับหนึ่ง บางคนจะเรียกว่าคีย์บอร์ด 80% เป็นคีย์บอร์ดที่จะตัดปุ่มโซน Numpad นั้นออกไป 20% คีย์บอร์ดรูปแบบTenkeyless (TKL) จะเหมาะกับกลุ่มผุ้ใช้งานที่ชอบฟังก์ชั่นการใช้งานเทียบเท่าแบบ Full size ถ้าผู้ใช้งานอยากจะใช้การพิมพ์ตัวเลขให้กดปุ่มตรง F1-F12 ก็ใช้ทดแทนปุ่มที่ตัดออกไปได้เหมือนกัน

ข้อดีของคีย์บอร์ดแบบ 80%

3. คีย์บอร์ดแบบ 75% Layout 

3. คีย์บอร์ดแบบ 75% Layout 

คีย์บอร์ด 75% จะเป็นคีย์บอร์ดที่เล็กกะทัดรัดลงมาอีก ตัดพื้นที่ปุ่มคำสั่งเสริมอย่าง คำสั่ง Page Down ,Insert, Page Up, Home นั้นออกไป ปุ่มโซน F1-F12 จะถูกนำมาร่วมเข้ากับปุ่ม Fn กับตัวเลขให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน การกดใช้งานปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆต้องกด Fn ก่อนเสมอถึงจะใช้งานได้ ลักษณะคีย์บอร์ดจะเหมือนแป้นพิมพ์ของโน้ตบุ๊คเลย

ข้อดีของคีย์บอร์ด 75% 

ข้อเสียของคีย์บอร์ด 75%

4. คีย์บอร์ดแบบ 60%

คีย์บอร์ดที่มีขนาดเล็กที่สุดมีปุ่มให้ใช้งาน 61 ปุ่ม ตัวคีย์บอร์ดจะมีความสั้นกว่าแบบคีย์บอร์ด 75%  ในส่วนชุดคำสั่งฟังก์ชั่นการใช้งานจะถูกรวบรวมไว้กับคำสั่ง Page Down ,Insert, Page Up และปุ่มอื่นๆอีก ตัวปุ่มจะถูกดัดแปลงไม่เหมือนกับการใช้งานแบบปกติทั่วๆไป ปุ่มพิมพ์ตัว “ฝ” จะอยู่ตรงปุ่มลูกศรวางซ้อนกันอยู่การที่จะใช้งานฟังก์ชั่นเหล่านี้ต้องกดปุ่ม fn ค้างไว้ก่อนเสมอ

ข้อดีของคีย์บอร์ดแบบ 60%

ข้อเสียของคีย์บอร์ดแบบ 60%

ที่มาข้อมูล Notebookspec.com

Credit ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *