การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ?

การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ?

หัวข้อ

   ในยุคการสื่อสารออนไลน์เช่นนี้ การประชุมหรือการจับกลุ่มคุยกัน ที่เรียกว่าห้องแชท ได้เปลี่ยนและพัฒนาไปอย่างยิ่งยวด และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น ก็ยิ่งทำให้การประชุมออนไลน์ หรือแม้แต่การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ถูกนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกครั้งในช่วงนี้ 

 การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ? 1

   เนื่องจากการพบปะสังสรรค์คนหมู่มาก ตามสถานที่ต่างๆ ถือว่าเป็นความเสี่ยงมากที่จะทำให้คุณรับเชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ วันนี้เราจะมาดูกันครับว่า ประโยชน์ของการประชุมออนไลน์ทางช่องทางแอพต่างๆ ดีอย่างไร และการปิดกล้องระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือ เราไปหาคำตอบกันเลยครับ

 การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ? 2

   การปิดกล้องระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น นอกจากจะป้องกันการแอบมองของผู้ที่ร่วมประชุมกับคุณแล้ว ก็ยังสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวได้ แต่คำถามที่น่าทึ่งที่สุดก็คือ มันสามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วยจริงหรือ ผมเชื่อว่าทุกคนอยากได้คำตอบ เพราะในช่วงเวลาตอนนี้ทุกคนยังคงออกไปไหน มาไหนอย่างยากลำบาก การเลือกการประชุมออนไลน์โดยใช้ Google Meet หรือ Zoom ในการประชุม และการทำงานแบบ “เวิร์คฟอร์มโฮม” นั้น ถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าตื่นเต้น แล้วมันจำเป็นมากๆกับการใช้ชีวิตแบบ NEW NORMAL ในตอนนี้ เพราะการสัมผัสนั้นเสี่ยงติดเชื้อมากที่สุด วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน กับงานวิจัยชิ้นนี้ 

 การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ? 3

   นักวิจัยจาก Purdue Climate Change Research Center, MIT Energy Initiative และ Yale Center ได้พบว่าการสนทนาทางวิดีโอต่อเนื่อง 1 ชั่วโมงนั้น หรือแม้แต่รับชม Streaming ทางช่องทางต่างๆหรือ Netflix นั้นจะสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 150 ถึง 1000 กรัมเลยทีเดียว โดยการปิดกล้องระหว่าง Hangouts วิดีโอ ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 96% และคุณยังสามารถลดได้ถึง 86% หากคุณดูหนัง หรือกำลัง Streaming ภาพยนตร์ที่มีความละเอียด SD ไม่ใช่ความละเอียดอย่าง ULTRA HD เหมือนในทุกวันนี้

 การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ? 4

   ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นอีกว่า เนื่องจากการล็อกดาวทั่วโลกในปี 2020 นี้ จึงทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกลดลง แต่ในขณะเดียวกันนั้น การใช้งานอินเตอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นถึง 20% ผลวิจัยยังพบอีกว่า หากยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ในภายในสิ้นปี 2021 นั้น เราจะต้องใช้พื้นที่ถึง 71,600 ตารางไมล์ ขนาดเท่าประเทศซีเรีย เพื่อจำกัดคาร์บอนทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาทางอินเตอร์เน็ต

   “ ไม่มีใครเลยบอกคุณถึงเรื่องประโยชน์ของการปิดกล้อง หรือลดคุณภาพการสตรีม เพราะหากไม่ได้รับการยินยอมจากคุณในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ก็กำลังจะเพิ่มผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ให้กับตัวคุณนั่นเอง ” นักวิจัยกล่าวเสริมอีก

 การปิดกล้องในระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงๆหรือ ? 5

   ดังนั้น วันนี้เราคงได้คำตอบจากประเด็นถกเถียงกันในโลกอินเตอร์เน็ตแล้วว่า ทุกครั้งที่ประชุมออนไลน์ นั้นมันหมายความว่าเรากำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศโลกอยู่โดยไม่รู้ตัว และส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นภายหลังได้ แม้จะเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพียงปริมาณเล็ก ถ้าหากมันได้รับการสะสมเป็นเวลานานหลายปี และไม่มีคนสนใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในวันนั้นโลกใบนี้ ก็อาจจะร้อนขึ้นอีกหลายเท่าเลยก็เป็นได้ ดังนั้น เราอย่ามัวแต่ถกเถียงกันเลยครับ ถ้าเราได้คำตอบที่เราพอใจแล้ว การลดคาร์บอนก็เป็นการช่วยโลกได้อย่างหนึ่ง และเป็นการกระทำง่ายๆเท่านั้นเอง ที่ทุกคนบนโลกก็สามารถทำได้ เท่านี้เราก็สามารถอยู่กับโลกใบนี้ไปอีกนานได้แล้วครับ

เครดิต 

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตเว็บตรง

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการเทคโนโลยีในเมืองไทยมากว่า 10 ปี